เทศกาลคเณศจตุรถี 31 สิงหาคม ถึง 9 กันยายน 2565
เทศกาลคเณศจตุรถี
หมายถึง เทศกาลบูชาพระพิฆเณศ ประจำปีของขาวฮินดู และผู้นับถือศรัทธา ซึ่งจะจัดขึ้นเพื่อเป็นการสักการบูชาพระพิฆเณศ โดยมีระยะเวลา 10-11 วัน โดยจะเริ่มงานวันแรกตรงกับวันขึ้น 4 ค่ำ ละจะไปสิ้นสุดใน วันอนันตะจตุรทศี ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือนภัทรปท ตรงกับเดือนไทย คือระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง เดือนตุลาคม
ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติ ซึ่งในปีนี้ วันแรกเริ่มเทศกาล จะตรงกับวันพุธที่ 31 สิงหาคม และจะสิ้นสุดลงตรงกับวัน ศุกร์ที่ 9 กันยายน
สำหรับผู้ศรัทธาจะปั้นองค์ พระพิฆเณศ ขึ้นมา และทำการบูชา จากนั้นจะส่งเสด็จกลับสู่สวรรค์ ด้วยการนำเทวรูปที่บูชาไปลอยน้ำ เรียกว่า พิธี คเณศ วิสรชน ชาวฮินดู จะทำพิธีในบ้านหรือเทวาลัย ส่วนในเมืองไทยนั้นจะมีพิธีที่เทวาลัย หรือวัดฮินดู หากไม่สะดวกก็จะสามารถบูชาได้ที่บ้าน
โดยเริ่มจากการทำความสะอาดเทวรูป
ของที่ใช้ในการบูชาประกอบด้วย
ผลไม้ นมสด ขนมลาดู ข้าวสาร น้ำตาลโตนด มะพร้าว ผลไม้ต่าง ๆ ดอกไม้สีแดง ดอกชบาแดง หญ้าแพรก
โดยจะไม่ถวายของคาว หรือสุรา
โดยก่อนบูชาจะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาด สำรวมจิตใจ
ขอพร ขอความสำเร็จ ความรอบรู้ทุกแขนง ถ้าเป็นนักศึกษาก็จะขอให้สำเร็จการศึกษา และปราศจากอุปสรรค อันตรายนาประการ เพราะท่านคือเทพแห่งความรู้ สติปัญญา ความสำเร็จ และขจัดอุปสรรคทั้งมวล
ในเทศกาลจตุรถี จะบูชาทุกวันก็ได้ หรือบูชาเพียงวันเดียวก็ได้
สถานที่ที่บูชาแล้วแต่จะสะดวก แต่จะต้องทำให้ถูกต้อง
การจัดเตรียมตัวบูชาในบ้าน
ให้นำเทวรูป ที่เราบูชามาทำความสะอาด รวมถึงทำความสะอาดหิ้งพระ และเทวรูปต่างๆ
สิ่งของที่ควรจัดเตรียม (ควรเตรียมตัวก่อนวันงานพิธี )
โดยจัดหาโต๊ะเล็ก ๆ อาสนะ อาจจะเป็นผ้าปู นิยมใช้สีแดง หรือสีส้ม เพราะเป็นสีที่พระคเณศโปรดปราน
จัดสถานที่บูชา หรือหน้าหิ้งบูชา ปูอาสนะบนโต๊ะ เสมือนเป็นที่ประทับรองเวลาท่านเสด็จลงมา
- ข้าวสาร น้ำเปล่า ใส่ถ้วยพร้อมช้อนสะอาดสำหรับตักถวาย
- ใช้น้ำปัญจมรรัตน์(นม นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต เนต น้ำผึ้ง น้ำตาลทราย หรือน้ำอ้อย)
- ผ้าสำหรับเช็ด น้ำสะอาดสำหรับล้างเทวรูป
- ผ้าสำหรับแต่งองค์เทวรูป ผ้านุ่ง ผ้าคลุม หรือด้ายฝ้ายสีแดง หรือย้อมสี ฉีกเป็นเส้น พอดีกับเทวรูป สำหรับคล้องแทนผ้าต่าง ๆ
ผงเจิม สำหรับจุ่มเจิม จะใช้ ผงซินดู ผงกุมกุม ผงจันทร์ (ถ้าหาได้ทั้งหมดก็ได้ หรือเท่าที่มี)
- น้ำหอม สำหรับประพรหมเทวรูป
- เครื่องประดับ เช่น สร้อย กำไล สำหรับตกแต่งองค์เทวรูป ถ้าไม่มีเครื่องประดับสามารถใช้เหรียญเงิน เหรียญทอง หรือข้าวสาร แทนของมีค่าได้
- ดอกไม้ หรือมาลัย
- ธูป หรือ กำยาน
- ดวงประทีป หรือ เทียน
- ผลไม้ตามฤดูกาล ขนมหวาน ขนมลาดู
- หมากพลู หญ้าแพรก
บดสวดต่างๆเมื่อเข้าสู่การทำพิธี
1. พิธี อาวหนะ หมายถึง กล่าวเชิญ กล่าวมนต์พระคเณศ ดังนี้
โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอเชิญพระองค์ มาประทับยังแท่นที่ได้ตระเตรียมไว้
2. พิธี อาสนะ หมายถึง การอัญเชิญเทวรูปขึ้นประทับยังแท่น หรืออาสนะที่ได้เตรียมไว้
นำข้าวสาร หรือ ดอกไม้ โปรยที่แท่น หรือ อาจจะเรียงเป็นรูปสวัสดิกะ (x) แล้วนำเทวรูปวาง
3. พิธี ปัธยะ หมายถึง พิธีถวายน้ำล้างพระบาท
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำล้างพระบาทต่อพระองค์ โดยนำช้อนตักน้ำ วน ที่บริเวณพระบาทของเทวรูป 3 ครั้ง แล้วเทลงที่พระบาท หรือเบื้องหน้าของเทวรูป
4. พิธี อะระฆะยะ หมายถึงพิธีล้างพระหัตถ์
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำล้างพระหัตถ์ต่อพระองค์ น้ำช้อนตักน้ำ วน ที่บริเวณพระหัตถ์ของเทวรูป 3 ครั้ง แล้ว เทลงที่พระหัตถ์ ข้างใดข้างหนึ่ง หรือเบื้องหน้าเทวรูป
5. พิธี อาจจะมันยะ หมายถึง การชำระพระโอษฐ์
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำ ชำระพระโอษฐ์ต่อพระองค์ โดยนำช้อนตักน้ำ วน ที่บริเวณพระโอษฐ์ของเทวรูป 3 ครั้ง เทลงที่พระโอษฐ์ หรือเบื้องหน้าเทวรูป
6. พิธี สะนานิยัม อภิเษกกัม หมายถึง พิธีสรงสนาม
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอถวายน้ำ สรงสนามต่อพระองค์
โดยถวายน้ำสะอาด หรือ น้ำนม หรือถวายน้ำปัญจะมรัตน์สรงเทวรูป หลังสรงแล้วก็ล้างด้วยน้ำสะอาด เช็ดองค์ทำความสะอาด
เชิญองค์ทำความสะอาด และเชิญองค์เทวรูปกลับยังแท่นพิธี
(หากไม่สรงที่องค์สามารถเทลงเบื้องหน้าเทวรูปได้เช่นกัน)
7. พิธี วัตระ หมายถึง พิธีถวายผ้า
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอ ถวายผ้าสำหรับนุ่งห่ม ต่อพระองค์ และนำผ้าคลุม หรือผ้านุ่ง ที่เตรียมไว้ ถวายต่อหน้าเทวรูป อาจจะนุ่ง หรือคลุม หรือวางไว้เบื้องหน้า
8. พิธี กันธะ หมายถึง การถวายเครื่องหอม แป้ง และผงเจิม
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอ ถวาย เครื่องหอม ผงเจิมต่อพระองค์
นำผงเจิม เช่น ผงจันทร์ ผงกุมกุม ผงซินดู เจิมที่เทวรูป
นำน้ำหอม ประพรม ที่เทวรูป
9. พิธี อาภะระนะ หมายถึง พิธีถวายเครื่องงประดับ
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอ ถวาย เครื่องประดับต่อประองค์ นำเครื่องประดับที่จัดเตรียมไว้ อาทิเช่น สร้อย กำไล สวมคล้องต่อเทวรูป หรือวางไว้เบื้องหน้า
10. พิธี ปุษปะมาลา หมายถึง การถวายดอกไม้ และมาลัย
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอน้อม ถวาย ดอกไม้ และมาลัย นี้แด่พระองค์
11. พิธี ธูปะ หมายถึง การถวายธูปหอม และกำยาน
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอน้อม ถวาย ธูปหอม และกำยานนี้ต่อพระองค์
12. พิธี ดีปัม หมายถึง การถวายดวงประทีป
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอน้อม ถวาย ดวงประทีปต่อพระองค์ นำประทีป หรือเทียน จุดถวายต่อหน้าเทวรูป
13. พิธี ไนเวดยัม หมายถึง การถวายเรื่องบริโภค ผลไม้ และขนมหวาน
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอน้อม ถวาย ผลไม้ตามฤดูกาล พร้อมขนมหวานต่าง ๆ ต่อพระองค์
นำผลไม้ต่าง ๆ มาจัดเรียงถวายต่อเทวรูป ถ้ามีเยอะมาหหลายถาด สามารถนำนำตักใส่ช้อนวน ที่ผลไม้ ขนมหวาน ต่าง ๆ แล้วเทน้ำลงเบื้องหน้าเทวรูปได้
14. พิธี ตัมปูรัม หมายถึง การถวายหมาก พลู หญ้าแพรก
สวด โอม ศรี คเณศายะ นะมะหะ ข้าพเจ้าขอน้อม ถวาย หมากพลู หญ้าแพรก ต่อพระองค์
นำหมากพลู หญ้าแพรก ถวาย ต่อพระองค์
15. พิธี สโตรตรัมปูชา หมายถึง การถวายบทบูชาสรรเสริญต่อพระองค์
สวดบูชา ด้วยบทสวด หรือ มนต์ต่าง ๆ 108 จบ เป็นต้น
สุดท้าย คือ พิธี อารตีไฟ
สวดบูชาพร้อมวนไฟถวายต่อเทวรูป
***หมายเหตุ หากไม่สะดวกทำ เอาเท่าที่ทำได้ สิ่งของและขั้นตอนต่าง ๆสามารถลดทอน วันสุดท้ายบูชาเสร็จ อัญเชิญเทวรูปกลับขึ้นหิ้ง ถือเป็นการสิ้นสุดการบูชา